รูปแบบและความมันส์ ของมอเตอร์สปอร์ตในแบบฉบับที่แฟนๆต้องการ

รูปแบบและความมันส์

รูปแบบและความมันส์ การเปรียบเทียบกันระหว่างทั้งสองความเร็วบนสนามแข่ง 

รูปแบบและความมันส์ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ทำหน้าที่บรรยายการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก (โมโตจีพี) สนามล่าสุดจากสนามคาตาลุนญ่า ประเทศสเปน ผ่านทางหน้าจอทรูวิชั่นส์ ฟ็อกซ์สปอร์ต บอกได้เลยครับ

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อโมโตจีพีมาอยู่ในสัปดาห์เดียวกันการแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่งชิงแชมป์โลก (เอฟวัน) ที่แม้จะเหลื่อมเวลากัน ด้วยการไปแข่งขันที่ประเทศแคนาดา (ตรงกับช่วงกลางดึกบ้านเรา) มันยิ่งมีข้อเปรียบเทียบที่ชัดเจนถึงอรรถรสของการแข่งขันที่ช่างจะแตกต่างกันเหลือเกิน

ยกตัวอย่างง่ายๆเฉพาะวันชิงชนะเลิศ ฝั่งของโมโตจีพีที่ถ่ายทอดสด 4 ชั่วโมงเต็ม รวมทั้ง 3 รุ่น ไล่จาก โมโตทรี ,โมโตทู และโมโตจีพี มีจังหวะแซงให้ได้ลุ้นกันทุกโค้งและทุกรอบจนเข้าเส้นชัย ส่วนฝั่งรถเอฟวัน ที่ถ่ายทอดสดประมาณ 2 ชั่วโมง จากแคนาดา ไฮไลท์เดียวอยู่ที่จังหวะชนกระจายกันในรอบแรกเท่านั้น

นอกจากนี้หากไปดูผลการแข่งขัน โมโตจีพี ไล่จากอันดับของผู้ชนะลงไปถึงอันดับ 10 ช่องห่างของอยู่ที่ราวๆ 24 วินาทีเท่านั้น ส่วนฝั่งเอฟวันนั้นไม่ต้องสืบ แค่อันดับ 1 อย่างลูอิส แฮมิลตัน ก็ทิ้งวัลต์เตรี่ บอตตาส อันดับที่ 2 สุดกู่ 19 วินาที เข้าไปแล้ว และน็อกรอบไปถึงรถอันดับที่ 10 เลยทีเดียว สงสัยกันบ้างไหม

ยังไม่รวมถึงเรื่องราวในโลกโซเชียล ที่ในปีนี้ ทั้งในทวิตเตอร์ ,เฟสบุ๊ค และอินสตาแกรม ที่เป็นแอคเคาท์อย่างเป็นทางการของโมโตจีพี มีการอัพเดตเรื่องราวทั้งในและนอกสนามแทบจะตลอดเวลา รวมถึงมีการสื่อสารให้กับแฟนๆได้ส่งคำถามอะไรก็ได้ไปยังนักแข่งคนโปรดก่อนที่จะลงแข่งขันแต่ละสนาม คล้ายๆกับแนวทางศิลปินระดับโลกเวลาไปทัวร์คอนเสิร์ตตามประเทศต่างๆ

อย่างคำให้สัมภาษณ์ของ วาเลนติโน่ รอสซี่ ที่ออกมาจัดหนักใส่สนามแข่งที่จังหวัดบุรีรัมย์ บางที อาจเป็นความจงใจของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการปลุกกระแสโมโตจีพีจะมาเปิดตลาดในเมืองไทยก็เป็นได้ ใครจะไปรู้ เท่ากับว่าโดยรวมแล้ว นาทีนี้ เอฟวัน ที่แม้จะได้เจ้าของใหม่ชาวอเมริกันเข้ามาบริหาร

ยังไงก็ดูเป็นรองฝั่งของโมโตจีพี ที่บริหารจัดการโดย ดอร์น่า สปอร์ตอยู่หลายขุม ฉะนั้นถือเป็นโชคดีของคนไทยแล้วล่ะ ที่ โมโตจีพี กำลังจะมาแข่งในบ้านเราในช่วง 3 ปี นับจากนี้ เพราะตั้งแต่จำความได้ ในยุคที่ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ ผูกขาดชัยชนะร่วมกับเฟอร์รารี่ เอฟวันยังดูสนุกกว่ายุคที่เรดบูลล์ และเมอร์เซเดส ครองความยิ่งใหญ่ ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป

รูปแบบและความมันส์

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากเสร็จภารกิจบรรยายโมโตจีพีทางทรูวิชันส์ 

ผมเองมีโอกาสทันได้ติดตามการแข่งขันในฝั่งของเอฟ วัน รายการอาเซอร์ไบจานกรังด์ปรีซ์ ในช่วงท้ายกับชัยชนะของแดเนียล ริคคิอาร์โด้ รวมถึงได้ย้อนกลับไปดูไฮไลท์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่บากู ซึ่งก็ต้องบอกว่ามีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นมากมายจริงๆ ครับ

โดยเฉพาะประเด็นร้อนที่สุด ที่ร้อนมาจนถึงวันนี้ นั่นก็คือจังหวะปะทะกันบนแทร็กระหว่าง เซบาสเตียน เวทเทล (เฟอร์รารี่) กับ ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส จีพี) ที่แฟนความเร็วหลายคนน่าจะได้เห็นกันไปแล้ว ส่วนใครที่ยังไม่เห็นภาพ แนะนำให้ดูย้อนหลังผ่าน ยูทูป อย่างเป็นทางการของฟอร์มูล่า วัน ที่ปีนี้มีการอัพเดตไฮไลท์ให้ดูกันแบบเต็มอิ่มเลยทีเดียวครับ

ภาพโดยรวมของเอฟวันที่สนามบากู ถือว่าสนุกมากกว่าหลายๆสนามที่ผ่านมาก็จริง แต่สำหรับ มันเป็นความสนุกที่เกิดจากความผิดพลาด ไม่ใช่เกิดจากความสนุกในการต่อสู้การด้วยฝีมือและสมรรถนะของรถอย่างแท้จริงเหมือนในฝั่งโมโตจีพี ที่มันหยดติ๋งตั้งแต่รุ่นโมโตทรียันโมโตจีพี ข่าวโมโตจีพีวันนี้

ย้อนกลับมาพูดถึงกรณีของ “เวทเทล-แฮมิลตัน” ถ้าให้มองแบบเป็นกลางๆจริงๆ ก็คงต้องบอกว่า เกมนัดนี้เวทเทลพลาดเต็มประตู! จริงอยู่ ในจังหวะเบรกของแฮมิลตัน อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ช่าง แต่มันเป็นสิทธิ์ของผู้นำที่กระทำได้ เหมือนในอดีตที่ ไมเคิล ชูมัคเกอร์ เคยใช้ลูกไม้นี้ดึงจังหวะจน ฮวน-ปาโปล มอนโตย่า หัวเสียมาแล้วในปี 2003 ที่ออสเตรีย ก่อนที่หลังจากนั้นทั้งคู่จะไปซัดกันในอุโมงค์ ขณะขับในรอบเซฟตี้คาร์ที่โมนาโกมาแล้ว

ฉะนั้น มันคือเรื่องของแท็คติกล้วนๆครับ ซึ่งเวทเทลเอง มีโอกาสที่จะหัวเสียได้ ยกมือโวยวายได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปขับรถเบียดแฮมิลตันขนาดนั้น ซึ่งสิ่งหลังนี่เองคือสิ่งที่ทำให้เวทเทลโดนปรับโทษ นอกจากนี้ยังมีสถบคำหยาบผ่านทางวิทยุสื่อสารกับทีมงาน ยังดีที่ทีมงานเอฟวันมีการเซ็นเซอร์ก่อนปล่อยออนแอร์ในช่วงถ่ายทอดสด

งานนี้ แม้อันดับในการแข่งขันที่บากู เวทเทล จะจบอันดับที่ดีกว่าแฮลิมตัน แต่สงครามนี้ ลูอิส ชนะเต็มๆครับ เพราะหากมองกันจริงๆ นี่คือพฤติกรรมที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ต่างอะไรกับนักเลงบนท้องถนนที่หากไม่พอใจรถคันอื่น ก็แสดงพฤติกรรม ขับปาดหน้า ขับแล้วเบรกกระชั้น หรือชูนิ้วใส่คู่กรณี ซึ่งจะว่าไปแล้ว หากพูดถึงฝีมือของคู่นี้ แน่นอนว่า นี่คือ 2 นักขับที่เก่งที่สุดในยุคนี้ ดูบอลสด

ในฐานะคนดูก็อยากจะเห็น การดวลกันแบบที่วัดกันที่ฝีมือจริงๆ เหมือนในยุคของ “นิกิ เล้าด้า – เจมส์ ฮันท์” ยุคของ “ไอร์ตัน เซนน่า – อแลง พรอสต์” หรือกระทั่งสมัย “มิก้า ฮัคคิเน่น-ไมเคิล ชูมัคเกอร์” ไม่ใช่การดวลกันที่งัดเอาพฤติกรรมนักเลงบนแทร็กแบบนี้มาใช้ ซึ่งดูมุมไหนก็ไม่เหมาะสมด้วยกระการทั้งปวง (พูดแบบนี้ “ติ่งหนุ่มเซ็บ” อย่าโกรธ แล้วกันนะค้าบ)

Author: admins